++++++++++
ตอบ เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนในการพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ พัฒนาศักยภาพสตรี การเฝ้าระวังดูแลปัญหา และช่วยเหลือเยียวยาสตรี
ตอบ สมัครเป็นสมาชิกได้ 2 ประเภท
1. ประเภทบุคคลธรรมดา - สตรีไทย อายุ 15 ปี ขึ้นไป
- มีภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ในท้องที่ ไม่น้อยกว่า 6 เดือน
2. ประเภทองค์กรสตรี ได้แก่ มูลนิธิ หรือสมาคมที่มีที่ตั้งอยู่ในท้องที่ ไม่น้อยกว่า 6 เดือน
สมัครสมาชิกประเภทบุคคลธรรมดา
1. ด้วยตนเอง หรือทางไปรษณีย์ ณ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดและอำเภอทุกแห่ง
สำหรับกรุงเทพฯ สมัครที่ศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพชุมชนเขต 34 เขต ของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ)
2. ทางเว็บไซต์ กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี (www.womenfund.in.th)
สมัครสมาชิกประเภทองค์กร
สมัครด้วยตนเองหรือทางไปรษณีย์ที่ สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เลขที่ ๒๕๕ บ้านราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
ตอบ
1. กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัด มี คกส.จ. เป็นผู้บริหารกองทุนฯ และอนุมัติโครงการโดยผ่านการพิจารณาเห็นชอบจาก คกส.ต. สำนักงานตั้งอยู่ที่ใดสอบถามที่ได้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด
2. กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีกรุงเทพมหานคร มี คกส.กทม. เป็นผู้บริหารกองทุน และอนุมัติโครงการ สำนักงานตั้งอยู่ที่ สำนักคุ้มครองสวัสดิภาพชุมชน (ภายในสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี) ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชวิถี กทม.10400.
ตอบ จัดสรรให้เป็นเงินกองทุน จังหวัดละ 70 -130 ล้านบาท ตามจำนวนประชากรกรมการปกครอง ปี 2553 ซึ่งจำแนกเป็น 3 ส่วน คือ
ขนาดจังหวัด |
เงินกองทุน |
เงินทุนหมุนเวียน |
เงินอุดหนุน |
งบบริหาร |
เล็ก (35 จังหวัด) |
70 ล้านบาท |
56 ล้านบาท |
13,580,000 บาท |
420,000 บาท |
กลาง (22 จังหวัด) |
100 ล้านบาท |
80 ล้านบาท |
19,400,000 บาท |
600,000 บาท |
ใหญ่ (20 จังหวัด) |
130 ล้านบาท |
104 ล้านบาท |
25,220,000 บาท |
780,000 บาท |
ตอบ ประเภทเงินทุนหมุนเวียน เป็นเงินให้สมาชิกกู้ยืม ในการพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ คิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 3 บาท/ปี ชำระคืนภายใน 2 ปี
ประเภทเงินอุดหนุน เป็นเงินสนับสนุนกิจกรรมการสร้างความรู้ พัฒนาภาวะผู้นำ ดูแลคุณภาพชีวิต และแก้ไขปัญหาของสตรี โดยไม่ต้องส่งคืนกองทุน เน้นกิจกรรมที่เป็นประโยชน์กับสมาชิก เด็ก เยาวชน คนชรา และผู้ด้อยโอกาสหรือชุมชนในภาพรวม
ตอบ ต้องมีคุณสมบัติ ๕ ข้อ ตามระเบียบฯ
1. เป็นสมาชิกกองทุน (ประเภทบุคคลธรรมดา รวมตัวกัน 5 คนขึ้นไป หรือสมาชิกประเภทองค์กรสตรี ได้แก่ มูลนิธิ หรือ สมาคม)
2. มีภูมิลำเนา/ถิ่นที่อยู่ /สถานที่ทำงาน/สำนักงานใหญ่ ตั้งอยู่ในท้องที่ที่จะยื่นคำขอไม่น้อยกว่า 6 เดือน
3. มีบุคลากรหรืออาสาสมัครในการปฏิบัติงานประจำ
4. ดำเนินงานและมีผลงานเกี่ยวกับการทำงานหรือฝึกอาชีพ การพัฒนา การช่วยเหลือ คุ้มครองและพิทักษ์สิทธิสตรี หรือมีผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมหรือชุมชนที่เกี่ยวข้องกับสตรี
5. ไม่ดำเนินกิจการที่ก่อให้เกิดความวุ่นวาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ตอบ โครงการละไม่เกิน 2 แสนบาท ทั้งประเภทเงินทุนหมุนเวียน และเงินอุดหนุน
ตอบ ไม่ได้ ผู้จะขอรับเงินกองทุนฯ ต้องเป็นสมาชิก ๒ ประเภทเท่านั้น แต่สามารถเสนอในนามสมาชิกกองทุนฯ ได้
ตอบ เสนอในนามคณะกรรมการไม่ได้ แต่เสนอในประเภทบุคคลธรรมดารวมตัวกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปได้
ตอบ ควรอยู่ภายในตำบลเดียวกัน เนื่องจากแต่ละตำบลจะมี คกส.ต. ดูแลสมาชิกภายในตำบลของตนเอง
ตอบ ระเบียบไม่ได้ห้ามไว้ แต่ คกส.ต. ควรพิจารณาให้มีการกระจายผลประโยชน์ให้กับสมาชิกอย่างทั่วถึง
ทุกครัวเรือนเป็นอันดับแรกก่อน
ตอบ กรณีภูมิภาค (๑) คกส.ต.จะประชุมพิจารณาเห็นชอบโครงการ (๒) คกสต. ส่งโครงการให้ คกส.จ เพื่อประชุมพิจารณาอนุมัติโครงการ (๓)คกส.จ.แจ้งผลการอนุมัติให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดโอนเงินเข้าบัญชีของ คกส.ต (๔) คกส.ต แจ้งให้สมาชิก(เจ้าของโครงการ)มาทำสัญญา กับ คกส.ต. (๕)โอนเงินเข้าบัญชีของผู้กู้
กรณี กทม. (๑) คกส.กทม.ประชุมพิจารณาอนุมัติโครงการ (๒)คกส.กทม.แจ้งผลการอนุมัติให้กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการโอนเงินเข้าบัญชีของ คกส.กทม. (๓) คกส.กทม. แจ้งให้สมาชิก(เจ้าของโครงการ)มาทำสัญญา (๕)โอนเงินเข้าบัญชีของสมาชิก
ตอบ สมาชิกที่รวมกลุ่มกันเสนอโครงการเพื่อให้สมาชิกได้มีความรับผิดชอบร่วมกันหรือประกอบกิจกรรมร่วมกันในรูปกลุ่ม หากจะทำกิจกรรมเฉพาะอาชีพเป็นรายบุคคล ควรกู้เงินกองทุนอื่นที่มีการสนับสนุนอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน เช่น กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง หรือ กลุ่มออมทรัพย์ต่างๆ เป็นต้น
ตอบ ส่งคืนเข้าบัญชี คกส.ต. ภายใน 30 วัน หรือขอแก้ไขเพิ่มเติมแผนงานโครงการเพื่อดำเนินการตามจำนวนเงิน
ที่เหลืออยู่นั้นก็ได้
ตอบ 1. ดำเนินการตามโครงการและแผนการใช้จ่ายเงินตามที่ได้รับอนุมัติ โดยห้ามนำเงินที่ได้รับ
การสนับสนุนไปดำเนินการนอกเขตพื้นที่หรือที่อยู่ของสมาชิกนั้น
2. รายงานผลการดำเนินงานตามที่ คกส.ต. /คกส.กทม.
(ภายในวันที่ 20 เมษายน และ ตุลาคม หรือภายใน 30 วัน นับแต่วันสิ้นสุดโครงการ )
ตอบ 1. สมาชิกต้องระบุไว้ในสัญญาว่าจะชำระเป็นกี่งวด เป็นเงินต้นแต่ละงวดเท่าไร ไม่เกิน 22 งวดหรือ 2 ปี
2. โดยให้สมาชิกนำเงินฝากเข้าบัญชี คกส.ต./คกส.กทม. แล้วแต่กรณี
3. คกส.ต./คกส.กทม. ออกใบเสร็จให้สมาชิก
4. คกส.ต. โอนเงินเข้าบัญชี คกส.จ. ภายใน 3 วันทำการ
ตอบ ขอปรับปรุงแผนงานหรือรายละเอียดโครงการแก่ คกส.จ.หรือ คกส.กทม.เพื่อดำเนินการตามโครงการเดิมหรือโอนเงินคืนบัญชี คกส.ต.ภายใน 7วัน
ตอบ รายงานผลการดำเนินงาน ภายในวันที่ 20 เมษายน และ ตุลาคม หรือภายใน 30 วัน นับแต่วันสิ้นสุดโครงการ ให้ คกส.ต. และ คกส.กทม. ทราบ
ตอบ ภายในเดือน เมษายน และ ตุลาคม ของทุกปี
ตอบ คณะกรรมการติดตามและสนับสนุนการดำเนินงานจังหวัด
********************
หากมีปัญหา ข้อสงสัย หรือต้องการขอรับการสนับสนุน ความรู้ ติดต่อได้ที่ไหน
ภูมิภาค สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ/จังหวัด ทุกแห่ง
กรุงเทพฯ สำนักคุ้มครองสวัสดิภาพชุมชน กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิภาพ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โทรศัพท์ 02-6596229, 02-2306 8959
สำนักงานคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแห่งชาติโทรศัพท์ 02-2829306, 02-2829310 และ 02-141654
สำนักงานคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
กรมการพัฒนาชุมชน ชั้น ๓ อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ๑๐๒๑๐
โทรศัพท์ 02-1413052 , 02-1413074 | This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
ดำเนินการโดยกรมการพัฒนาชุมชน